Published
–
–
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อใช้ในการพยากรณ์เศรษฐกิจมหภาคไทยรายไตรมาส รวมถึงประเมินผลกระทบของนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบจำลองที่ใช้ประกอบด้วยสมการพฤติกรรม (Behaviour Equations) จำนวน 52 สมการ และสมการเอกลักษณ์ (Identities) จำนวน 25 สมการ โดยสมการพฤติกรรมจะเป็นการประมาณค่าการเคลื่อนไหวของตัวแปรในระบบ ในขณะที่สมการเอกลักษณ์จะเป็นการระบุความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปร ผลการพยากรณ์ในปี 2556 จากแบบจำลองพบว่า แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาคของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความแม่นยำใกล้เคียงกับค่าพยากรณ์ของ ธปท., สศค. และ สศช. ในตัวแปรที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ อัตราการขยายตัวของ GDP, อัตราเงินเฟ้อทั่วไป, อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และการบริโภคภาคเอกชน ทั้งในการพิจารณาความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ทั้งปี 2555 และในการพิจารณาค่าพยากรณ์ล่วงหน้าราย ไตรมาส ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของตัวแบบเศรษฐมิติมหภาคของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ตัวแป รต่างๆ นี้จะนำมาใช้ในการปรับปรุงตัวแบบในการศึกษาระยะต่อไป
ส่วนการประเมินผลกระทบจากนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนฯ พบว่า ผลจากการลดดอกเบี้ยทั้ง 6 ครั้งในช่วงปลายปี 2554 ถึงต้นปี 2557 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2555และ 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 และ 0.33 ตามลำดับ จากกรณีที่ไม่มีการผ่อนคลายเชิงนโยบายการเงิน ส่วน
ในปี 2556 ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 ดังนั้น หากไม่มีการลดดอกเบี้ยในช่วงปี 2554-
2556 เศรษฐกิจในปี 2556 อาจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 – 2.6 ซึ่งผลการคำนวณนี้แสดงถึงอิทธิพลของ
การลดดอกเบี้ยนโยบายการเงินต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของไทย ด้านนโยบายการคลังในปี 2556 ชะลอ
ตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2555 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ทำให้ผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง
อย่างชัดเจน จากระดับร้อยละ 1.03 เป็น 0.91 แสดงถึงข้อจำกัดในการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้น
เศรษฐกิจในปี 2557 เทียบกับในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้
สุดท้าย การประเมินผลจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ ซึ่งแข็งค่าขึ้นรวดเร็วในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ซึ่งเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ส่งผลทันทีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนั้น คิดเป็นร้อยละ -0.48 และส่งผลต่อเนื่องยังปี 2554 ซึ่งส่งผลให้การขยายตัวในปี 2554 ลดลงร้อยละ -0.33 ซึ่งแสดงถึงบทบาทของอัตราแลกเปลี่ยนฯ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย