Published
–
–
จากงานศึกษานี้, การวิเคราะห์สถานการณ์ของการผลิตบัณฑิตในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการศึกษากับตลาดแรงงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัญหาหลักสองประการ ได้แก่ ความไม่สอดคล้องในเชิงปริมาณและคุณภาพของทักษะที่บัณฑิตได้รับจากการศึกษากับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในนวัตกรรมของภาคธุรกิจไทย โดยการศึกษาได้แยกการวิเคราะห์ออกเป็นสองด้าน คือ
ในด้านของ ความไม่สอดคล้องในแนวดิ่ง (Vertical Mismatch) พบว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกมักประสบปัญหาความไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานสูงที่สุด ทั้งนี้การว่างงานและค่าจ้างที่ต่ำกว่าระดับการศึกษาจริงยังเป็นผลกระทบที่เกิดจากความไม่สอดคล้องนี้นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่า ความไม่สอดคล้องในแนวราบ (Horizontal Mismatch) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกสาขาที่ไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ ก็มีผลกระทบต่อการพัฒนาผู้ที่มีการศึกษาระดับต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและบางสาขาอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับความต้องการในตลาดแรงงาน โดยลกระทบจากความไม่สอดคล้องของการศึกษากับการประกอบอาชีพในด้านต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานในด้านของรายได้ ภาวะการมีงานทำ และภาวะการหางานทำเพิ่ม ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ขยายตัวมากขึ้นหากมีการพิจารณาถึงความไม่สอดคล้องในทั้งสองมิติ ได้แก่ แนวราบและแนวดิ่งของอาชีพ แต่ผู้วิจัยไม่ได้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบในลักษณะนี้ได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านข้อมูล
การวิเคราะห์ในด้านการจ้างงานพบว่าแรงงานที่ไม่มีทักษะสูงเป็นส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแรงงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าแรงงานที่มีทักษะสูง เช่น ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ซึ่งต้องมีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานกว่า อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูงยังเป็นปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรและทุนสูง
นอกจากนี้ การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมทักษะเฉพาะ เพื่อให้แรงงานสามารถทำงานได้ตามมาตรฐานขององค์กร แต่บริษัทบางแห่งก็ยังมีความกังวลในเรื่องการสูญเสียทรัพยากรจากการลาออกของแรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมในทักษะทั่วไป ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติพบว่า การลงทุนในทุนมนุษย์ เช่น การจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงหรือการฝึกอบรม สามารถช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงานและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นที่ต้องพิจารณาในแง่ของความคุ้มค่า (Cost-Benefit Analysis)
อย่างไรก็ดี ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นระบบในโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือการอบรมเรียนรู้ในบริษัท นั้นยังคงมีระดับของความเหลื่อมล้ำ (Inequality) สูง ครอบครัวที่มีฐานะจะมีโอกาสมากกว่าในการส่งเสียลูกให้ได้เรียนในโรงเรียนหรือในระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง บริษัทที่มีขนาดใหญ่เองก็จะสามารถจัดการฝึกอบรมแก่พนักงานได้มากกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้ นโยบายทางด้านทุนมนุษย์จ าเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ดังกล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า การศึกษาและการฝึกอบรมมีบทบาทอย่างมากในการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในด้านปริมาณการศึกษาและด้านคุณภาพการศึกษาดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านคุณภาพการศึกษามีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าปริมาณการศึกษา นโยบายที่มุ่งเน้นเพียงแค่ให้เด็กเข้าเรียน โดยไม่ใส่ใจคุณภาพการศึกษาไม่สามารถท าให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตได้เท่าที่ควร และหากประเทศไทยต้องการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศโดยให้นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนชนิดต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โครงสร้างพื้นฐานทางทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญอย่างมากในการมีส่วนขับเคลื่อนดังกล่าว ซึ่งจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไรนั้นก็มาจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ถือเป็นตัวก าหนดของการคิดค้น การพัฒนา และนวัตกรรมทั้งหมด