
ชื่อโครงการ
โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนากลไกการขยายผลศาสตร์พระราชา และเกษตรทฤษฎีใหม่แบบบูรณาการ และการทดลองเชิงปฏิบัติการ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ
เกษตรทฤษฎีใหม่ ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้แต่ง
ศาสตราจารย์ ดร.วิสาขา ภู่จินดา ที่ปรึกษาโครงการ
ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ที่ปรึกษาโครงการ
ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฆริกา คันธา ผู้ร่วมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข ผู้ร่วมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง ผู้ร่วมวิจัย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สถิติการเปิดชม
สถิติการดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนากลไกการขยายผลศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่แบบบูรณาการฯ ระยะที่ 1 นี้ มุ่งตอบโจทย์ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายการ พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ผนวกกับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ส่งผลให้มีแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อพยพคืนถิ่นย้ายกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวน มาก ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสของประเทศในการฟื้นฟูภาคชนบทและชุมชนเกษตรกรรม ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมสู่ความยั่งยืนได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ เกษตรทฤษฎี ใหม่เป็นหนึ่งในแนวทางและเครื่องมือที่สามารถสร้างโอกาสเพื่อความอยู่รอดของแรงงานคืนถิ่นเหล่านั้น และ เป็นเส้นทางที่สามารถพัฒนาให้มีความยั่งยืนได้ โครงการวิจัยนี้ ได้ถอดบทเรียนการดำเนินการขยายผลเกษตร ทฤษฎีใหม่ของ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ (1) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบ สานแนวพระราชดำริ และ (4) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่จะ นำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนากลไกขยายผลศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่แบบบูรณาการ
จากการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ทั้งจากส่วนกลางและพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) พบว่า แต่ละ หน่วยงานมีจุดแข็งและประเด็นพัฒนาที่แตกต่างกันไป โดยสำนักงาน กปร. มีกลไกขยายผล คือ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาฯ และศูนย์สาขาที่ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ ในขณะที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นพัฒนาเกษตรกรต้นแบบที่มีที่ดินขนาดเล็กและมีศูนย์เครือข่ายปราชญ์ ชาวบ้านเป็นกลไกขยายผลในแต่ละพื้นที่ สำหรับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำมุ่งพัฒนานวัตกรรมชุมชนใน การพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำชุมชน และพัฒนาชุมชนแกนนำให้สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชน เครือข่าย โดยมีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริเป็นกลไกขยายผล ส่วนมูลนิธิปิดทอง หลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริใช้การจัดการองค์ความรู้ของชุมชนเป็นกลไลขยายผล และมุ่งสร้างการมีส่วน ร่วมของชุมชนในกระบวนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามหลักการพัฒนาตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น
ทั้งนี้ หากมีการบูรณาการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของทั้ง 4 หน่วยงาน มาพัฒนากลไกการเผยแพร่ และขยายผลศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่แบบบูรณาการ ให้เกิดการขยายผลสู่การพัฒนาพื้นที่ตาม แนวพระราชดำริอย่างเป็นระบบ จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศได้