นโยบายส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อความพร้อมของการเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดของผู้ก่อนเข้าวัยเกษียณ


ชื่อโครงการ

นโยบายส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อความพร้อมของการเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดของผู้ก่อนเข้าวัยเกษียณ

คำสำคัญ

นโยบายส่งเสริมสุขภาพ วัยเกษียณ

ผู้แต่ง

รองศาสตราจารย์ ดร. ประสพโชค มั่งสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทัศนีย์ สติมานนท์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณเฑียร สติมานนท์

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


สถิติการเปิดชม

สถิติการดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร ซึ ่งสำรวจโดยสำนักงานสประถิติแห่งชาติและข้อมูลปฐมภูมิจากสำรวจข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ การเป็นโรคประกอบกับลักษณะทั่วไปหรือสถานะเศรษฐกิจและสังคม ของกลุ่มวัยกลางคนหรือกลุ่มแรงงานตอนปลาย อายุ 45 – 59 ปี ทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ และนำผลที่ได้มาช่วยสนับสนุนแนวนโยบายเพื่อส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมของคนกลุ่มนี้เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ในอีก 15 ปีข้างหน้า โดยข้อค้นพบที่สำคัญคือ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (socioeconomic status) มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพ (health literacy) คือผู้ที่มีการศึกษาและรายได้ต่ำกว่าจะมีความฉลาดทางสุขภาพในระดับที่ต่ำกว่า อีกทั้งคนกลุ่มนี้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับสูงด้วย สำหรับในเรื่องพฤติกรมด้านสุขภาพนั้น พบว่าระดับการศึกษา ความฉลาดทางสุขภาพ และทัศนคติเกี่ยวกับตนเองส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่อ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้ออาหาร และในกลุ่มคนที่อ่านฉลากนั้น กว่าร้อยละ 40 ไม่เข้าใจฉลากโภชนาการ อย่างไรก็ตามการอ่านฉลากโภชนาการและเข้าใจในข้อมูลโภชนากลับมิได้ช่วยให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น และในกลุ่มที่อ่านฉลากและเข้าใจนั้นเกินครึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่แย่กว่าค่าเฉลี่ยของผู้ตอบบบสอบถามทั้งหมด ที่น่าสนใจคือคนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด การออกกำลังยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากมีเพียงร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ และผู้มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานมีพฤติกรรมสุขภาพในทุก
ด้านแย่กว่าผู้มีน้ำหนักตามมาตรฐาน

สำหรับแนวนโยบายส่งเสริมสุขภาพนั้นงานวิจัยนี้ขอเสนอแนวนโยบายส่งเสริมสุขภาพ ต้องอาศัยการใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เช่นการสะกิต (nudge) เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล (เช่นการใช้ฉลากโภชนาการ แบบ Traffic light labeling การกระตุ้นการอ่านฉลาก) การรณรงค์ปรับบรรทัดฐานสังคม(เช่น การใช้ Influencer เป็นผู้นำด้านการออกกำลัง) และการให้ความรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมการออกกำลังกายผ่านทางสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาและการทำงานของกลุ่มวัยกลางคนเป็นต้น