จัดกิจกรรม CCCL Film Tour : จัดฉายภาพยนตร์สั้น เพื่อการเรียนรู้และเวิร์กชอปการเป็นผู้นำทางด้านการสื่อสารวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิต้นกล้ารักษ์โลกและGYBN Thailand ได้จัดกิจกรรม CCCL Film Tour : จัดฉายภาพยนตร์สั้น เพื่อการเรียนรู้และเวิร์กชอปการเป็นผู้นำทางด้านการสื่อสารวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในวันที่ 5-6 ตุลาคม 2567 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว กิจกรรมประกอบด้วย พิธีเปิด พิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และพิธีปิด โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

– กิจกรรมวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 “Climate Storytelling” แจกโจทย์ทำกิจกรรมการจัดฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อการเรียนรู้ด้านการสื่อสารวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ท้องถิ่น โดย ทีมงาน CCCL

– กิจกรรมวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2567 “Systems Thinking” โดย GYBN Thailand การนำเสนอ “กิจกรรมการจัดฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อการเรียนรู้ด้านการสื่อสารวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ท้องถิ่น” (Pitching project) พร้อมรับคำแนะนำเพื่อปรับปรุงข้อเสนอโครงการ โดยคณะกรรมการ จำนวน 3 ท่านประกอบด้วย 1) ผู้แทน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 2) ผู้แทน CCCL Film Festival 3) ผู้แทน GYBN Thailand

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจนักศึกษา 3 สถาบัน ได้แก่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จำนวน 10 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รวมจำนวน 15 คน

วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ 1. ดำเนินการจัดฉายภาพยนตร์ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) สำหรับเยาวชนไทย 2. พัฒนาและจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารผ่านสื่อภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับเยาวชนในสถานศึกษาและในชุมชน (Climate story telling) 3. สร้างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมบทบาทของเยาวชนในการสร้างบทสนทนา ระหว่างเยาวชนต่อเยาวชน และเยาวชนต่อชุมชน 4. ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางในการสร้างผลักดันการมีส่วนร่วมของเยาวชน โรงเรียนมหาวิทยาลัย และชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงสำคัญและมีบทบาทในการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน

#NIDA#งานวิจัย#NIDARESEARCHBUREAU