
แนวทางการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการบริจาคทานวัตถุในยุคประเทศไทย 4.0
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่วัดที่เกิดจาก การถวายทานวัตถุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่วัดที่เกิดจากพิธีการถวายทานวัตถุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยจากทานวัตถุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative research) โดยกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ส่วนแรกจะเป็นการศึกษาเพื่อทบทวนแนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและในส่วนที่สองเป็น การดำเนินการร่วมกันระหว่างชุมชน และวัดในการจัดเวทีประชุมกลุ่มย่อยเพื่อสร้างความเข้าใจในภาพรวมของโครงการวิจัยต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริจาคทานวัตถุ และในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการจัดสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมชุมชนเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยจากทานวัตถุอย่างยั่งยืนให้เกิดเป็นองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาของประเทศไทย โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP-IMODEL ในการศึกษาแนวทางการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการบริจาคทานวัตถุ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยจากการบริจาคทานวัตถุ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านพฤติกรรมการทิ้งขยะของประชาชนเมืองเนื่องมาจากสภาพลักษณะบริบทของประชาชนในชุมชนเมือง หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเจริญมากกว่าในชนบท ประชาชนจึงมีความนิยมอาศัยอยู่ในเมืองจำนวนมากเป็นผลให้ในเมืองมีประชากรที่หนาแน่นและมีความหลากหลายของประชากร ซึ่งความหนาแน่น และความหลากหลายของประชากรนั้นส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะที่แตกต่างกันเพราะมีองค์ความรู้ รายได้ ทัศนคติ ที่แตกต่างกันนอกจากปัจจัยต่อมาคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการซึ่งก็มีสาเหตุมาจากความหนาแน่นของประชากรในชุมชนเมืองส่งผลให้ในเมืองมีพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัดและยากต่อการจัดการขยะประการสุดท้ายปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ไม่มีถังขยะแบบคัดแยกประเภทวางตามจุดทิ้งขยะอีกทั้งมีถังขยะไม่เพียงพอที่จะรองรับขยะอีกด้วย
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยจากการบริจาคทานวัตถุและการสร้างกลไกความร่วมมือ ประกอบด้วย การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยสำหรับประชาชนผู้บริจาคทานวัตถุด้วยการรณรงค์ให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการจัดการขยะมูลฝอยเช่น การติดป้ายประกาศเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะ ลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม การเทศนาที่สอดแทรกเนื้อหาเรื่องการคัดแยกขยะ เป็นต้น การกำหนดมาตรการการคัดแยกขยะและการจัดการขยะมูลฝอยโดยใช้หลัก 3R สำหรับ บุคลากร ของวัดร้านค้าผู้จำหน่ายสินค้าทานวัตถุและประชาชนผู้บริจาคทานวัตถุและการติดตั้งถังขยะแบบคัดแยกประเภทตามจุดทิ้งขยะ