
บทบาทของวัดในการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้นวัตกรรมภายใต้ประเทศไทย 4.0
Abstract
จากการที่ชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงได้หล่อหลอมซึมซับเข้าในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม บทบาทของวัดจึงมีความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน บทบาทของวัดในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การมีสื่อดิจิทัลเข้ามาในสังคม วัดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับบทบาท รูปแบบวิธีการในการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมโดยใช้รูปแบบวิธีการสอน การปลูกฝัง การพัฒนาจิตใจ โดยใช้นวัตกรรมให้เข้ากับยุคดิจิทัล
วัตถุประสงค์ของโครงงานวิจัยฉบับนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการ สิ่งเร้า และการตอบสนองการเรียนธรรมะในกลุ่มเด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน 2) เพื่อศึกษาบทบาทของวัดในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน ด้วยการใช้นวัตกรรมของการสื่อสารและวิธีการสอนเป็นเครื่องมือเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัล และยุคประเทศไทย 4.0 และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมที่วัดสามารถมีบทบาทและเป็นที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ที่ 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 1,142 ตัวอย่างที่อาศัยในจังหวัดกรุงเทพมมหานคร นนทบุรี ปทุมมธานี และสมุททรปราการ วัตถุประสงค์ที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าอาวาสวัด/ผู้แทนวัดจำนวน 55 แห่งในจังหวัดกรุงเทพมมหานคร นนทบุรี ปทุมมธานี และสมุททรปราการ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ปัจจัยบ้าน ขนาดครัวเรือน ระดับเศรษฐกิจ และความอบอุ่นในครอบครัว ปัจจัยวัด ความถี่ในการไปวัดต่อเดือนของหน่วยตัวอย่างที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการ สิ่งเร้า และการตอบสนองการเรียนธรรมะในกลุ่มเด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงานที่แตกต่างกัน ในส่วนของบทบาทของวัดในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน ด้วยการใช้นวัตกรรมยังมีความแตกต่างกัน โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 พระสงฆ์ที่มีความเข้าใจเรื่องนวัตกรรมมาก เช่นกลุ่มพระครูที่มีความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กลุ่มที่ 2 พระสงฆ์ที่มีความเข้าใจเรื่องนวัตกรรมปานกลาง เช่นกลุ่มที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนาวัด และ กลุ่มที่ 3 พระสงฆ์ที่มีความเข้าใจเรื่องนวัตกรรมน้อย ซึ่งในกลุ่มนี้รวมถึงกลุ่มที่คิดว่าพระสงฆ์ไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมกับการใช้เทคโนโลยีมากนัก เพราะอาจไม่ใช่กิจสงฆ์และกลุ่มพระอาวุโสที่ไม่ถนัดหรือชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ รูปแบบ วิธีการ หรือกิจกรรมในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ในกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น/นักศึกษาโดยจัดให้มีรูปแบบการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ธรรมะควบคู่ไปกับความสนุกสนาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความต้องการเรียนที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนรูปแบบ วิธีการ หรือกิจกรรมในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ในกลุ่มวัยทำงานกิจกรรมของวัดก็ควรจะเน้นเรื่องของเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งในเรื่องของการฝึกอาชีพ