Published
–
–
โครงการวิจัยนี้เสนอการวิเคราะห์การออมและความมั่งคั่งของครัวเรือนไทย โดยเน้นปัญหาการออมไม่พอเพียงและการขาดหลักประกันสังคมซึ่งเกิดกับประชากรไทยส่วนใหญ่ (2 ใน 3) กล่าวคือผู้ใช้แรงงานในภาคไม่เป็นทางการ โดยประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และแบบจำลองวงจรชีวิตขยาย (extended lifecycle model) เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการออมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มครัวเรือนไทย เสนอการประมาณการสมการโครงสร้าง (ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสำคัญคือรายได้-การออม และความมั่งคั่ง) ใช้ข้อมูลระดับครัวเรือนสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2552 และผลสำรวจข้อมูลปฐมภูมิในปีต้นปี 2556 โดยคณะวิจัยเพิ่มเติม เพื่อได้ข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น แรงจูงใจของการออม ความหวงแหนดีต่อบุตรคือความตั้งใจถ่ายโอนมรดกและการเข้าร่วมกองทุนสัจจะออมทรัพย์ซึ่งสะท้อนอิทธิพลของทุนทางสังคมและพฤติกรรมกลุ่มต่อการออมผลการศึกษาสรุปเป็นข้อๆ ดังนี้:
หนึ่ง การทบทวนสถานการณ์การออมของครัวเรือน (household saving) ในช่วงสามทศวรรษ (ค.ศ. 1990-2010) โดยอิงบัญชีประชาชาติเป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลสรุปว่า อัตราการออมของครัวเรือนไทยซึ่งมีความผันผวนปีต่อปีแต่มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ อัตราการออมเคยแปรผันในช่วงร้อยละ 17-18 ของรายได้ประชาชาติในช่วงต้นทศวรรษ เหลือเพียงร้อยละ 11-12 ในระยะหลัง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้คาดว่ามาจากหลายสาเหตุ เช่น วัฒนธรรมบริโภคนิยมตามกระแสโลกาภิวัตน์ ความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านสื่อสารคมนาคม และการขยายตัวของสินเชื่อผู้บริโภค
สอง การศึกษาจากข้อมูลครัวเรือนในปี ยืนยันว่า ก) อัตราการออมครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 6,387 บาท ต่อเดือน เปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 22,396 บาทต่อเดือน คำนวณเป็นสัดส่วน S/Y เท่ากับร้อยละ 28 วิธีการคำนวณเช่นนี้เท่ากับ weighted average ซึ่งจะได้ค่าเฉลี่ยสูง (เนื่องจากการถ่วงน้ำหนักของคนรวยสูงกว่าคนจน) สำหรับการคำนวณ S/Y ด้วยวิธี unweighted average ครัวเรือนรวย/จนมีน้ำหนักเท่ากัน จะได้ข้อสรุปว่า อัตราออมต่อรายได้(S/Y) เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 10 ซึ่งน้อยกว่า ข) พบว่า พฤติกรรมการออมของครัวเรือนไทยมีความแตกต่างและหลากหลาย จึงแยกวิเคราะห์เป็นกลุ่มอาชีพ ชนชั้น ระดับการศึกษา ผลสรุปดังต่อไปนี้:
สาม ผู้วิจัยเสนอการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการออมไม่พอเพียง โดยอิงคานิยามสองแบบ:นิยามแรกสะท้อนความเข้มข้น หมายถึง ครัวเรือนที่มีการออมติดลบ นิยามที่สองหมายถึง ครัวเรือนที่มีการออมต่ำกว่าร้อยละ 50 ของการออมตามพยากรณ์จากแบบจำลองเศรษฐมิติ ผลการศึกษาสรุปว่า: ร้อยละ 26 ของครัวเรือนไทยมี “การออมติดลบ” “การออมไม่พอเพียงในความหมายกว้าง” หมายถึง มีความสามารถออม—แต่น้อยกว่าค่าพยากรณ์จากแบบจำลองค่อนข้างมาก การออมไม่พอเพียงเกิดขึ้นได้ในทุกระดับ แม้ในครัวเรือนรวยก็อาจจะประสบปัญหาการออมไม่พอเพียงได้เช่นกัน ในทุกอาชีพมีปัญหาออมไม่พอเพียง เพียงแต่อตัราความเสี่ยงต่อการออมไม่พอเพียงแตกต่างกัน และสังเกตว่ากลุ่มอาชีพที่มีรายได้ต่ำ (ตัวอย่างเช่น แรงงานเกษตร แรงงานทั่วไป ผู้ปฏิบัติการในโรงงาน) มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหา “การออมไม่พอเพียง” สูงกว่าอาชีพอื่น
สี่ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่สะท้อนในสมการโครงสร้าง (structural equations) อันประกอบด้วยตัวแปรตามคือรายได้ครัวเรือน การออม และการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือน พร้อมกับทดสอบความสัมพันธ์กับชุดตัวแปรอิสระ ซึ่งครอบคลุมอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ขนาดครัวเรือน ตัวแปรภูมิภาคและสภาพเมือง/ชนบท เป็นต้น ผลประมาณการยืนยันว่า แบบจำลองดังกล่าวมีความสามารถเชิงพยากรณ์ได้ดีพอสมควร และได้นำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ “ปัญหาการออมไม่พอเพียง”
ห้า การสำรวจปฐมภูมิจากคณะวิจัย เพื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น มูลเหตุจูงใจการออม ความหวงแหนดีของพ่อแม่และการเก็บออมเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลานในวันข้างหน้า การที่ครัวเรือนได้รับมรดกเป็นที่ดิน-บ้าน-และตัวเงินจากบุพการีในสิบปีที่ผ่านมา การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสัจจะออมทรัพย์ซึ่งสะท้อนความไว้วางใจในชุมชน (ทุนทางสังคม) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า:
หก ผู้วิจัยได้ทดลองทำการศึกษานโยบายสมมติ (policy simulation) โดยสมมติว่ากองทุนการออมแห่งชาติ (ตามนัยของ พ.ร.บ.การออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554) ได้เริ่มดำเนินการ (ความจริง ณ ต้นปี 2557 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้ผลักดันนักกฎหมาย หมายถึง ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมาชิกเข้า กองทุนฯ) โดยสมมติว่าหากสมาชิกออมเงินเข้ากองทุนฯ เป็นเงินร้อยละ 3-5 ของรายได้ จะมีเงินสะสมตลอดชีวิตการทำงานเป็นมูลค่าเท่าใด บวกกับ “การออมสมทบ” ที่ได้รับจากรัฐบาล คำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับหลังอายุ 60 ปี เป็นเงินเท่าใด และประมาณการภาระทางการคลังของรัฐบาลจากเงื่อนไขการออมสมทบ ผลการศึกษาพบว่ากรณีที่หนึ่ง เงินออมสะสมเท่ากับ 224,880 บาท เมื่อบวกกับเงินออมสมทบของรัฐบาลกลายเป็น 467,859 บาท และคาดว่าจะได้รับบำนาญเท่ากับ 1,949 บาทต่อเดือน กรณีที่สอง เงินออมสะสมเท่ากับ 374,800 บาท บวกกับการออมสมทบของรัฐบาลกลายเป็น 779,766 บาท และคาดว่าจะได้รับบำนาญเท่ากับ 3,249 บาทต่อเดือน เงินบำนาญขนาดนี้นับไม่มากนัก แต่สำหรับบุคคลที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เงินจำนวนนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงอยู่ในลักษณะพึ่งตนเองได้พอสมควร สำหรับภาระทางการคลังของรัฐบาลการประมาณการสรุปว่าอยู่ระหว่าง 48,173 ถึง 95,318 ล้านบาท ซึ่งแปรผันตามจำนวนสมาชิกกองทุนออมแห่งชาติ