Source Apportionmentand Risk Assessment of Carcinogenic Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) in Particulate Matter with Four Impactor Stages (>10m, 10-2.5m, 2.5-1.0m, and 1.0-0.5m) in Ambient Air of Bangkok


ชื่อโครงการ

Source Apportionmentand Risk Assessment of Carcinogenic Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) in Particulate Matter with Four Impactor Stages (>10 m, 10-2.5m, 2.5-1.0m, and 1.0-0.5 m) in Ambient Air of Bangkok

คำสำคัญ

ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจิ๋ว สารก่อมะเร็งโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน การประเมินความเสี่ยงสะสมตลอดอายุขัย การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

ศาสตราจารย์ ศิวัช พงษ์เพียจันทร์


สถิติการเปิดชม

สถิติการดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการกระจายตัวของโพลีไซคลิคอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons: PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่มีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพมนุษย์ในอนุภาคที่มี ขนาดแตกต่างกันหกระดับได้แก่: อนุภาคที่มีขนาดระหว่าง 0.65-1.1 ไมครอน (PM0.65-1.1), อนุภาคที่มีขนาด ระหว่าง 1.1-2.1 ไมครอน (PM1.1-2.1), อนุภาคที่มีขนาดระหว่าง 2.1-3.3 ไมครอน(PM2.1-3.3),อนุภาคที่มีขนาด ระหว่าง 3.3-4.7 ไมครอน (PM3.3-4.7), อนุภาคที่มีขนาดระหว่าง 4.7-7.0 ไมครอน (PM4.7-7.0), และ อนุภาคที่มี ขนาดใหญ่กว่า 7.0 ไมครอน (PM7.0) สถานที่ตรวจวัดคุณภาพอากาศตั้งอยู่บนดาดฟ้าของอาคารนวมินทราธิ ราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (NIDA Air Quality Observatory Site: NAQOS) ในระดับความสูงประมาณ 60 เมตร ด้วยเหตุที่ว่าสถานที่นี้ตั้งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างเขต ตัวเมืองและชานเมือง ทำให้เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของอากาศที่เป็นตัวแทนของทั้งกรุงเทพ ชั้นนอกและชั้นใน ค่าเฉลี่ยของระดับความเข้มข้นของสาร PAHs 12 ชนิด (ΣPAH12) ซึ่งตรวจวัดได้ที่ NAQOS มีความเข้มข้นเฉลี่ยอยู่ที่ 13.6±7.44 pg m-3 (PM0.65-1.1), 19.2±8.37 pg m-3 (PM1.1-2.1), 24.3±15.0 pg m-3 (PM2.1-3.3), 17.8±7.65 pg m-3 (PM3.3-4.7), 13.0±6.90 pg m-3 (ΣPM4.7-7.0), และ 5.71±2.41 pg m-3 (PM7.0 ) ยานพาหนะที่ใช้เบนซินและแก๊ซโซฮอลเป็นแหล่งกำเนิดหลักของ PAHs โดยมีส่วนร่วมอยู่ที่ 57% ของปริมาณ การปลดปล่อยทั้งหมด แหล่งกำเนิดจากภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดภาคการผลิตที่มีการใช้น้ำมันเตาคิดเป็นส่วนอยู่ที่ 12% และการผลิตเหล็กกล้าด้วยเตาอาร์คไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน 9.4% นอกจากนี้ การใช้ยางมะตอยในการก่อสร้างทางหลวง รวมถึงการปล่อยมลพิษที่เกิดจากเรือในคลองแสนแสบ มีส่วนร่วม รวมอยู่ในระดับ 7.4% และ 4.8% ตามลำดับ

ค่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดตลอดอายุ (Lifetime Lung Cancer Risk: LLCR) สำหรับ อนุภาคที่มีขนาดแตกต่างกันหกระดับมีค่าต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1×10-6 ผลของการ วิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดที่เกิดจากการสัมผัส PAHs ในพื้นที่สำรวจอยู่ในระดับ ที่ต่ำมาก การศึกษานี้เน้นความสำคัญของการเข้าใจถึงแหล่งกำเนิดและลำดับการกระจายของ PAHs ในชั้น บรรยากาศ นอกจากนี้ยังนำเสนอภาพรวมที่สำคัญเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับชั้นอนุภาคที่ แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมในพื้นที่เมืองและชานเมืองของกรุงเทพมหานคร