
ชื่อโครงการ
การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตในยุคสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง: โอกาสทางธุรกิจขยะ อิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล
คำสำคัญ
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ โอกาสทางธุรกิจขยะอิเล็กทรอนิกส์ รีไซเคิล เศรษฐกิจหมุนเวียน
ผู้แต่ง
ศาสตราจารย์ ดร.วิสาขา ภู่จินดา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตในยุคสังคมแห่งกำรเปลี่ยนแปลง: โอกาสทางธุรกิจขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์ และการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยและต่ำงประเทศ 2) ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 3) ศึกษาและวิเคราะห์โอกาสของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย (เมื่อเทียบกับต่างประเทศ) และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ที่เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการวิเคราะห์สถานการณ์และการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์จากข้อมูลทุติยภูมิ จากนั้นนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายมายืนยัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (SemiStructured Interview) โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ ประกอบด้วย (1) หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (สำนักบริหารการจัดการกากอุตสาหกรรม) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและกำรเหมืองแร่ศูนย์วิจัยและพัฒนำเทคโนโลยีรีไซเคิล สำนักงำนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสำหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหำนคร (สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขตจตุจักร) (2) ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี) เทศบาลนครนนทบุรี และ (3) สถานประกอบกำรเกี่ยวกับกำรจัดกำรขยะอิเล็กทรอนิกส์ (โรงงานลำดับที่ 105 และ 106) จำนวน 4 แห่ง รวมถึงร้านรับซื้อของเก่าในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษา พบว่า พ.ศ. 2562 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มีแหล่งกําเนิดมาจาก ชุมชนที่เกิดจากการบริโภคของภาคครัวเรือนกว่าร้อยละ 85 ของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด มีปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.25 ต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งขยะ อิเล็กทรอนิกส์ครัวเรือนที่ไม่ใช้งานแล้วประชาชนส่วนใหญ่นําไปขายให้กับธุรกิจรับซื้อของเก่า แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบรีไซเคิลน้อย ยิ่งไปกว่านั้นการนําขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อเพิ่ม มูลค่ายิ่งมีสัดส่วนน้อยยิ่งกว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดกฎหมายเฉพาะในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าจะมีความพยายามในการผลักดัน พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และ ซากผลิตภัณฑ์อื่น แต่ยังไม่ประสบผลสําเร็จในการบังคับใช้ ยังขาดการสนับสนุนธุรกิจรีไซเคิลขยะ อิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง การเก็บรวบรวมได้ให้อํานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเก็บรวบรวมขยะ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังมีข้อจํากัดในด้านโครงสร้างอํานาจ เทคโนโลยี และงบประมาณ ทําให้การรวบรวมขาด ประสิทธิภาพและเสถียรภาพ จึงจําเป็นต้องเร่งผลักดันกฎมายเฉพาะเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง สนับสนุนธุรกิจรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง โดยใช้มาตรการทางด้านเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนา เทคโนโลยี รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในเรื่องของเทคโนโลยีและโอกาสทางธุรกิจ พบว่า ภาครัฐและเอกชนมีความ พยายามพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังไม่สามารถขยายผลได้ในเชิงพาณิชย์อย่าง แพร่หลายมากนัก เช่น เทคโนโลยีการสกัดโลหะมีค่าจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นของประเทศไทยและสัดส่วนโลหะ พื้นฐานที่สําคัญและพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนํามาใช้ เป็นแหล่งวัตถุดิบทุติยภูมิ พบว่ามูลค่าที่อาจเกิดขึ้นจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องใช้ไฟฟ้าใน ครัวเรือน) มีมูลค่าสูงถึงเก้าพันกว่าล้านบาท (9,165,701,106 บาท) นั้นหมายถึงว่าประเทศอาจลดมูลค่าการ นําเข้าวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมได้ถึงเก้าพันกว่าล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณขยะ อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น
หากประเทศไทยจะมีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับ กระบวนการจัดการจากระบบที่เรียกว่าเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) คือ การถลุง ผลิต ทิ้ง และ กําจัด เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่วางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์มาเพื่อคืนสภาพ หรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ กลับมาสร้างคุณค่า และหมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องโดย ไม่มีของเสีย ตลอดจนการออกมาตรการ กฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสอดคล้อง กับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดการจัดการขยะ อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อให้โอกาสใหม่ของธุรกิจรีไซเคิลขยะ อิเล็กทรอนิกส์ คือ 1) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นต้น ได้แก่ (1) ธุรกิจออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่ลดการเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ (2) ธุรกิจรวบรวม คัดแยก รับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2) ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นกลาง ได้แก่ ธุรกิจการซ่อมขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนํากลับ มาใช้ใหม่ และธุรกิจสกัดโลหะมีค่าจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะ อิเล็กทรอนิกส์ในขั้นปลาย ได้แก่ ธุรกิจการนําขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนให้เป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยนวัตกรรม และธุรกิจการกําจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีปัจจัยสําคัญ คือ การบริหารจัดการ เรียกเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนา เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมของประเทศ และต้องเริ่มจากระบบการคัดแยกขยะที่ถูกวิธีจากต้นทางจนถึงกระบวนการ นํากลับมาใช้ใหม่ที่ปลายทาง