แรงจูงใจในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


ชื่อโครงการ

แรงจูงใจในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ

ผู้แต่ง

นางทัศนีย์ อาดำ

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


สถิติการเปิดชม

สถิติการดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และนำเสนอแนวทางเชิงบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยได้นำทฤษฏีแรงจูงใจและกระบวนการการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จำนวน 296 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสนับสนุนขององค์กรในภาพรวมมีผลต่อในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ซึ่งปัจจัยสนับสนุนขององค์กรในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ด้านการเห็นความสำคัญของระบบคุณภาพ 2) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และ 3) การสนับสนุนจากผู้บริหารหน่วยงาน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแต่ละหัวข้อของปัจจัยสนับสนุนขององค์กรพบว่า การเห็นความส าคัญของระบบคุณภาพ การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และการได้รับสนับสนุนจากผู้บริหารระดับคณะ/สำนัก เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลทำให้มีการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารระดับสถาบันจะเป็นผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคุณภาพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานภายในสถาบันได้ขับเคลื่อนระบบคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ แรงจูงใจในการพัฒนาระบบคุณภาพในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ปัจจัยจูงใจ และ 2) ปัจจัยค้ำจุน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยจูงใจ ซึ่งประกอบด้วยด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาระบบคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้การที่หน่วยงานภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีการกำหนดหน้าที่ความ
รับผิดชอบในการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบคุณภาพไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นการระบุหรือมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการเกี่ยวกับระบบคุณภาพ รวมถึงการมอบหมายงานที่มีลักษณะท้าทายความสามารถและจูงใจให้อยากปฏิบัติไม่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และสำหรับปัจจัยค้ำจุนซึ่งประกอบด้วย ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านการบังคับบัญชาเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการโดยเฉพาะในเรื่องการให้เงินเดือนหรือค่าผลตอบแทนอื่น ๆ เช่น ค่าล่วงเวลา เงินตอบแทนพิเศษ เพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่ก่อให้เกิดแรงจูงในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงด้านสภาพการทำงาน และด้านความสัมพันธ์ในการท างานซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับบุคลากรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์