
ชื่อโครงการ
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คำสำคัญ
–
ผู้แต่ง
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สถิติการเปิดชม
สถิติการดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และจัดทําแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ 2) เพื่อสร้างฐานข้อมูลโครงการในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันที่ครบถ้วน และสะดวกต่อการใช้งาน และ 3)เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและให้เกิดความพึงพอใจในการจัดทําคําของบประมาณในลักษณะบูรณา
การเชิงยุทธศาสตร์โดยการศึกษาวิจัยจากการรวบรวมเอกสาร การศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ผลการศึกษาวิจัย จึงได้แบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (NIDA Master Form) ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในรายละเอียดของเนื้อหาตามที่หน่วยงานภายนอกกําหนด ประกอบด้วย หัวข้อทั้งหมด 23 หัวข้อ และการออกแบบโครงร่างแบบฟอร์มที่มีการจัดกลุ่มลําดับหัวข้อ รูปแบบการกรอกแบบฟอร์มฯ ที่มีความกระชับ เข้าใจง่าย สะดวกในการกรอก และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดตามที่กําหนดไว้เพื่อจะได้เกิดความสะดวกในการดําเนินการตามแบบฟอร์มฯ เพียงครั้งเดียว แทนการจัดทําลงในแบบฟอร์มต่าง ๆ ของหน่วยงานภายนอกหลาย ๆ ครั้งผลการนําแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (NIDA Master Form) ไปใช้ในกระบวนการจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สรุปได้ว่า อาจารย์และนักวิจัยของสถาบันที่ได้จัดทําคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันตามแบบฟอร์มโครงการในลักษณะบูรณาการเชิง
ยุทธศาสตร์ของสถาบัน (NIDA Master Form) มีจํานวนทั้งสิ้น 40 คน จาก 13 หน่วยงาน โดยเป็นอาจารย์จากคณะการจัดการการท่องเที่ยวมากที่สุด จํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.95 รองลงมา คือคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จํานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 และคณะสถิติประยุกต์จํานวน5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.82 โดยมีโครงการทั้งหมด 87 โครงการ เป็นโครงการที่มาจากคณะการจัดการการท่องเที่ยวมากที่สุด จํานวน 18 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 20.69 รองลงมา คือ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จํานวน 14 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 16.09 และศูนย์อาเซียนและเอเซียศึกษาจํานวน 13 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 14.94 ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนั้น มีการรวบรวมและจัดเก็บโครงการเป็นฐานข้อมูล โดยแยกตามแผนงานบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องของโครงการ เพื่อจําแนก
ประเภทให้สะดวกต่อการใช้งาน ทําให้สามารถลดปัญหาการขอข้อมูลโครงการในลักษณะบูรณาการฯหลายครั้ง และสามารถนําข้อมูลโครงการที่ได้รวบรวมไว้มาจัดทําข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายนอกได้ครบถ้วน ถูกต้อง และทันตามระยะเวลาที่หน่วยงานภายนอกกําหนด
ผลการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถลดขั้นตอนลงได้ 20 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 40.00 (ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามผังกระบวนการทํางาน (Workflow) เดิม มีขั้นตอนทั้งสิ้น 50 ขั้นตอน และผังกระบวนการทํางาน (Workflow) ใหม่ มีขั้นตอนท้ังสิ้น 30 ขั้นตอน) สําหรับเวลาในการปฏิบัติงานสามารถประหยัดเวลาลงได้ 43 วัน คิดเป็นร้อยละ 53.75 (ระยะเวลาการปฏิบัติงานตามผังกระบวนการทํางาน (Workflow) เดิม ใช้เวลาทั้งสิ้น 80 วัน ผังกระบวนการทํางาน (Workflow) ใหม่ ใช้เวลาทั้งสิ้น 37 วัน) และข้อมูลตามแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (NIDA Master Form) ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภายนอก และมีความสอดคล้องกัน จึงสามารถนําข้อมูลตามแบบฟอร์ม NIDA Master Form ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (NIDA Master Foam) โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 โดยมีความพึงพอใจในเรื่องการจัดหมวดหมู่ และการเรียงลําดับของหัวข้อมีความเหมาะสม รูปแบบมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย และคําอธิบาย และตัวอย่างเหมาะสม ง่ายต่อการทําความเข้าใจนอกจากนี้ยังคาดหวังว่าจะช่วยลดระยะเวลาการประสานงาน ข้อเสนอโครงการที่มีรายละเอียดชัดเจนจะเป็นช่องทางในการเพ่ิมโอกาสการได้รับพิจารณาบรรจุและในอนาคตจะสามารถพัฒนาเป็นฐานข้อมูลโครงการ และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลโครงการได้
นอกจากนี้มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์และนักวิจัยเกี่ยวกับแบบฟอร์มคําของบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (NIDA Master Form) เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการ คือ เห็นว่าบางหัวข้อยังเรียงลําดับไม่เหมาะสม ควรเพิ่มคําอธิบาย และตัวอย่างประกอบเพื่อให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย สําหรับในส่วนของการกรอกข้อมูลงบประมาณ หากใช้โปรแกรมMicrosoft Excel จะเหมาะสมและสะดวกขึ้น นอกจากนี้ควรจัดทําคู่มืออธิบายขั้นตอน ประเด็นสําคัญจุดเน้นที่ต้องพิจารณา ประกอบกับการจัดประชุมชี้แจง เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจ